คุณยังไม่มีสินค้าในรถเข็น
รู้ก่อนเป็น ภูมิแพ้ตัวเอง
วันพุธที่ 24 มิถุนายน ค.ศ. 2020 10 นาฬิกา 40 นาที 00 วินาที Asia/Bangkok
แต่อันที่จริงสัญญาณเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้นี่แหละที่นำไปสู่โรคที่อันตรายจนถึงขั้นเสียชีวิตได้หากไม่รีบเข้ารับการรักษา โรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง เป็นอย่างไร? โรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง SLE ลูปัส หรือโรคพุ่มพวง เป็นโรคที่เกิดจากภาวะที่ร่างกายสร้างสารภูมิคุ้มกันต้านทานผิดปกติ โดยเข้าไปต่อต้านเนื้อเยื่อ หรืออวัยวะต่างๆ ในร่างกาย เป็นผลทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังในบริเวณนั้น ใครที่เสี่ยงเป็นโรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง? แม้ว่าโรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง เอสแอลอี หรือลูปัส จะไมได้พบกันบ่อยๆ แต่ก็พบได้เรื่อยๆ พบได้ตั้งแต่เด็กไปจนถึงผู้สูงอายุ แม้ว่าจะหาสาเหตุที่แท้จริงไม่ได้
แต่ก็มีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติอยู่หลายประการ
- พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
- ความผิดปกติจากพันธุกรรม (ชนิดที่ถ่ายทอดได้)
- ติดเชื้อจากแบคทีเรีย หรือไวรัสบางชนิด
- มีอาการแพ้กับสิ่งต่างๆ
- สูบบุหรี่
- ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาป้องกันการชัก ยาคุมกำเนิด ยาลดน้ำหนักบางชนิด
- เครียด ทำงานหนัก ออกกำลังกายมากเกินไป อาการของโรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง
สัญญาณอันตรายที่เป็นอาการเริ่มต้นของโรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง มีหลากหลายอาการขึ้นอยู่กับบริเวณที่เกิดความผิดปกติจนมีอาการอักเสบในระยะแรก ไปจนถึงระยะเรื้อรังที่อาจเริ่มเกี่ยวพันกับอวัยวะส่วนอื่นๆ
อาการผิดปกติทั่วไปที่หาสาเหตุไม่ได้ เช่น ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ผอมลง อาการทางผิวหนัง เช่น มีผื่นแดง มักขึ้นบริเวณใบหน้า ช่วงตรงกลาง และโหนกแก้มทั้งสองข้าง รูปร่างคล้ายผีเสื้อ และอาจมีอาการผมร่วงด้วย
อาการปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ อาจไม่มีอาการบวมแดง แต่ปวดได้ทุกส่วนที่มีข้อ เช่น ข้อเข่า ข้อเท้า ข้อมือ ข้อนิ้ว อาการทางปอด เช่น เจ็บหน้าอก ไอ ปอด เยื่อหุ้มปอดอักเสบ มีน้ำในปอด เหนื่อยง่าย เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ไปจนถึงหัวใจเต้นผิดปกติ
อาการทางระบบทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง เบื่ออาหาร อาการทางไต ความดันโลหิตสูง เช่น ขาบวม จากการบวมน้ำ
อาการทางระบบโลหิต เช่น โลหิตจาง ภาวะซีด ความดันโลหิตต่ำ เม็ดเลือดขาวต่ำ เกล็ดเลือดต่ำ หลอดเลือดอักเสบ อาจจะพบเป็นจุดแดงๆ เล็กๆ ทั่วตัวคล้ายไข้เลือดออก
อาการทางระบบประสาท เช่น มีอาการชักโดยไม่ทราบสาเหตุ แขนขาอ่อนแรง ไม่มีสมาธิ เครียด นอนไม่หลับ ซึมเศร้า วิตกกังวล มีปัญหาในการจำ สับสน เห็นภาพหลอน
โดยอาจเป็นผลข้างเคียงมาจากอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบอีกทีได้ ภาวะแทรกซ้อนของโรคพุ่มพวง ภูมิคุ้มกันที่ทำงานผิดปกติจะทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยจนอาจส่งผลกระทบต่ออวัยวะและระบบต่าง ๆ ภายใน ได้แก่ เลือด อาจเกิดภาวะโลหิตจาง เสี่ยงต่อการเสียเลือด การเกิดลิ่มเลือดอุดตัน และการติดเชื้อในกระแสเลือด ปอด อาจเกิดเยื่อหุ้มปอดอักเสบที่สร้างความเจ็บปวดในขณะหายใจ และเสี่ยงต่อปอดอักเสบได้ ไต อาจเกิดความเสียหายจากการอักเสบภายใน หรืออาจเกิดภาวะไตวายที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิต หัวใจ
เกิดการอักเสบที่กล้ามเนื้อหัวใจ หลอดเลือดแดง และเยื่อหุ้มหัวใจ เสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน สมองและระบบประสาทส่วนกลาง อาจเกิดอาการที่มีความรุนแรงน้อยไปจนรุนแรงมาก ตั้งแต่ปวดหัว เวียนหัว มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป มีปัญหาด้านความจำ ประสาทหลอน เป็นโรคหลอดเลือดสมอง ตลอดจนเกิดภาวะชัก นอกจากนี้
ผู้ป่วยโรคพุ่มพวงยังเสี่ยงต่อการติดเชื้อในอวัยวะและระบบต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น ทั้งจากการทำงานที่ผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันเอง และจากการรักษาโรคที่ต้องรับประทานยาลดการทำงานของภูมิคุ้มกันลง เสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระดูกตายจากการขาดเลือด
รวมถึงเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด ภาวะครรภ์เป็นพิษ และการแท้งลูกในผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์
การป้องกันโรคพุ่มพวง
แม้ยังไม่มีวิธีการป้องกันโรคพุ่มพวงได้ แต่คนทั่วไปสามารถหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรคได้ อย่างการดูแลสุขภาพ ไม่สูบบุหรี่ ไม่ตากแดดที่ร้อนจ้าหรือเป็นเวลานาน และหลีกเลี่ยงสารเคมีเป็นพิษในชีวิตประจำวัน
ส่วนผู้ที่ป่วยด้วยโรคพุ่มพวง สามารถเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับการป่วยอย่างเข้าใจ และลดการกำเริบของโรคได้โดย รับประทานยาตามกำหนด ไปพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ และรีบไปพบแพทย์เมื่อมีอาการกำเริบ ควบคุมอาหาร รับประทานแต่สิ่งที่มีประโยชน์และไม่ทำให้เกิดอาการแพ้ พักผ่อนอย่างเพียงพอ ไม่สูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงหรือลดการสัมผัสกับแสงแดด และสารเคมี ออกกำลังกายอย่างพอดี หลีกเลี่ยงการใช้แรงหรือออกกำลังกายในขณะที่มีอาการกำเริบ รักษาสุขภาพจิต เรียนรู้วิธีการจัดการกับความเครีด